การจัดอันดับทางการศึกษา มีหลักเกณฑ์อะไร อย่างไรบ้าง
นี่เป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย สำหรับในวงวิชาการของโลก มีหลายสถาบันที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยหรือการศึกษาของประชาชนในแต่ละประเทศแบบภาพรวมไว้ ในที่นี้ เรามาดูกันว่า แล้วเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้มีอะไรบ้าง และที่สำคัญคือ หน่วยงานไหนกันแน่ มีมาตรฐานสากล เชื่อถือได้มากที่สุด ซึ่งอันที่จริงแล้ว ก็ยังไม่มีองค์กรไหน ทำได้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพียงแค่ว่าเป็นเกณฑ์ที่นำมาตัดสินและประเมินคุณภาพการศึกษาในบางแง่มุมเท่านั้น
ในประเทศไทย การจัดอันดับระดับมหาวิทยาลัย มีเกณฑ์ใช้ประเมิน 7 ด้าน คือ
- Academic Reputation (30%) ชื่อเสียงด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยต่อนักวิชาการ ทาง QS จะส่งแบบสำรวจออนไลน์ถึงนักวิชาการ Worldwide academics จากแหล่งต่างๆ
- Employer Reputation (20%) ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยต่อผู้จ้างงาน ให้ผู้จ้างงานระบุชื่อมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด
- Faculty/student ratio (15%) สัดส่วนอาจารย์หรือลูกจ้างในสถาบันที่ทำงานเต็มเวลากับนิสิตนักศึกษา
- Citations per paper (10%) and papers per faculty (10%) สืบค้นฐานข้อมูล Scopus ได้เป็นจำนวนการถูกอ้างอิงต่อบทความ และจำนวนการถูกอ้างอิงต่อหัวของอาจารย์
- Staff with a PhD (5%) เกณฑ์ใหม่เพื่อจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอเชีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 พิจารณาจากจำนวนอาจารย์หรือบุคลากรในองค์กรที่เรียบจบถึงระดับปริญญาเอก
- Proportion of international faculty (2.5%) and proportion of international students (2.5%) สำหรับในด้านนี้ต้องการวัดระดับความอินเตอร์ของมหาวิทยาลัย ประเมินจากจำนวนอาจารย์ต่างชาติและจำนวนนักเรียนต่างชาติที่สนใจเข้าเรียน
- Proportion of inbound exchange students (2.5%) and proportion of outbound exchange students (2.5%) เป็นเกณฑ์สำหรับมหาวิทยาลัยในทวีปเอเชียเท่านั้น เพราะอิงกับความร่วมมือระหว่างกันของมหาวิทยาลัยในเอเชียด้วย พิจารณาจากจำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนในสถาบันต่างประเทศ และจำนวนนักศึกษาที่ได้ออกไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ
ทีนี้ ถ้าเป็นอันดับภายนอกประเทศละ
มีองค์กรสำคัญที่จัดทำรายงานประจำปีของการแข่งขันด้านต่างๆในหลายประเทศทั่วโลก นั่นคือ World Economic Forum (WEF) เป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถือว่าเป็นองค์กรที่มีระบบการจัดทำดัชนีชี้วัดความสามารถของประเทศต่างๆมายาวนานมากกว่า 30 ปี ใช้ดัชนีที่เรียกว่า Global Competitiveness Index (GCI) เกณฑ์การคำนวณมาจากปัจจัยพื้นฐานหลายด้าน เช่น ระบบสาธารณูปโภค งบดุลของประเทศ ดัชนีพื้นฐานต่างๆ การออกมเงิน สวัสดิการรัฐ ฯลฯ
แล้วการสำรวจคุณภาพด้านการศึกษาเป็นอย่างไร
สำหรับดัชนีสำคัญในการทำสำรวจมี 8 ตัว โดยมาจากคำถามดังต่อไปนี้
- จงประเมินคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศของท่าน (ประเมินคุณภาพของประถมศึกษา)
2.ระบบการศึกษาในประเทศของท่านตอบสนองต่อเศรษฐกิจที่ต้องแข่งขันได้ดีเพียงใด (ประเมินคุณภาพระบบการศึกษาที่มีต่อการทำงาน)
- จงประเมินคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในประเทศของท่าน (คุณภาพของการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์)
- จงประเมินคุณภาพของโรงเรียนบริหารธุรกิจในประเทศของท่าน (คุณภาพของโรงเรียนบริหารธุรกิจ)
- โรงเรียนในประเทศของท่านมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากน้อยเพียงใด (การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน)
แต่ละข้อจะให้ผู้ตอบเลือกคะแนนตั้งแต่ 1-7 ตามความพอใจต่อประเด็นคำถามนั้น ซึ่ง 1 คือแย่มาก ไปจนถึง 7 คือยอดเยี่ยมมาก
กรณีของการสำรวจความคิดเห็น (Opinion Survey) ในประเทศไทยที่ผ่านมา สุ่มจากผู้ทำงานในสถานประกอบการจากหลายภาคส่วน ขนาดต่างๆกันไป และนำค่าเฉลี่ยของคะแนนในแต่ละข้อ สร้างเป็นค่าดัชนีของประเทศ ซึ่งสามารถถามผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วย
แล้วยังมีการใช้สถิติจากสำนักงานสถิติแห่งยูเนสโก (UNESCO Institute of Statistics) อีก 3 ตัว เพื่อนำไปใช้คำนวณค่าดัชนี GCI คือ อัตราการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยม และระดับอุดมศึกษา
แต่การให้น้ำหนักของคำถามแต่ละข้อก็แตกต่างกันไปอีก บางประเด็นมีน้ำหนักสูงกว่า ซึ่งทาง WEF ก็ไม่ได้อธิบายไว้ชัดเจนถึงหลักการและเหตุผลเรื่องนี้
สุดท้ายแล้ว ประเด็นสำคัญคือการให้คะแนนเฉลี่ยด้วยแบบสอบถามในสเกลไม่ใหญ่ จึงไม่ควรนำมาใช้จัดอันดับประเทศเท่าไรนัก เพราะแค่พอเทียบเคียงภายในประเทศได้ก็จริง แต่เป็นเรื่องของความรู้สึกมากกว่าข้อเท็จจริงเสมอไป